วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

                                                             บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
                                  ประจำวันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558


ความรู้ที่ได้รับ

รู้จักการบูรณาการเอาสิ่งที่ดำเนินในชีวิตประจำวันมาสอนในวิชาคณิตศาสตร์ เช่่น การใช้เกณฑ์เวลา มาก่อนหน้าหลังในการแบ่งกลุ่ม
1. ทฤษฏีเพียเจย์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3. ขอบข่ายของหลักสูตร
4. หลักการสอนคณิตศาสตร์
                     *กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม *
1. กิจกรรมการแจ้ง
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
4. เกมการศึกษา
5. กิจกรรมเสรี / เล่นตามมุม
6. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของบรูเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ เรียนรู้จากการสัมผัสของจริง จับต้องได้
- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เรียนรู้จากมโนภาพและเรียนรู้จากภาพแทนของจริง
- ขั้นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามปธรรม
*เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเก็บข้อมูล *
คุณลักษะตามวัยของเด็กปฐมวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ
คุณลักษณะตามวัย คือ พฤติกรรมที่แสดงออก
คุณลักษณะตามวัย ดูได้ตามหนังสือหลักสูตร

คณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์
ความรู้ทางกายภาพ คือ ความรู้ที่สามารถจับต้องได้รับรู้ได้
ความรู้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในที่เกิดจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฏีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อนนั้นเอง

 จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กรู้จักคำศัพท์  เช่น มาก่อน มาหลัง จำนวน เวลา เป็นต้น
- รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. การสังเกต การเก็บรวบรวมโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. การจำแนกประเภท เปงการแบ่งประเภทโดยใช้เกณฑ์
3. การเปรียบเทียบ ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ
4. การจัดลำดับ การจัดลำดับต้องมีการเปรียบเทียบก่อน
5. การวัด การหาค่าและปริมาณโดยใช้เครื่องมือ
6. การนับ
7. รูปทรงและขนาด

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็นความจำเป็น
- เปิดโอกาสให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง
- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้

ทักษะ
อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเข้าสู่บทเรียน ให้เขียนป้ายชื่อแล้วนำไปติดหน้าบอร์ดตามเวลาที่ตัวเองมาเรียนสรุปจากการดูวิดีโอและออกมานำเสนอหน้าห้อง

วิธีการสอน
บรรยายประกอบ Powerpoint พร้อมมีคำถามขณะบรรยาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดและกว้างบรรยากาศดีมีการจัดโต๊ะเป็นรูปตัวยูทำให้พื้นที่ในการทำกิจกรรมกว้างขวาง

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลามีการจดบันทึกขณะที่กำลังเรียนตั้งใจฟังและตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนช้า นั่งไม่สุภาพ พูดคุยขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนได้เหมาะสม ให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดกันทำให้บรรยายกาศเกิดความสนุกสนานในการเรียนมีการพูดคุยกันโดยใช้เหตุผล


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

                                            สรุป งานวิจัย


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
วิจัย ของ วันดี  มั่นจงดี  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสานก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการสาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน ชาย หญิง จำนวน 30 คน อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมกาารสาน และแบบทักษะพื้นฐานทางคณิคศาสตร์
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาสตร์ คือ ความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์และได้รับการฝึกฝนในเรื่องการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ การบอกตำแหน่ง การเรียงลำดับ การนับ และการชั่ง ตวง วัด ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จะเป็นพื้นฐานช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์
องค์ประกอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การจัดลำดับ
6. รูปทรงและเนื้อที่
7. การวัด
8. เขต
9. เศษส่วน
10. การทำตามแบบหรือลวดลาย
11. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

ผลการวิจัย
 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการสานมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจากระดับปานกลางเป็นระดับดี
                                 สรุป จากการดูวิดีโอ


รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 2-3

   การสอนคณิตศาสตร์ของอนุบาล 2-3 การสอนนั้นยังเน้นความสนุกเป็นตัวนำ ตัวเลขที่ใช้สอนนั้นยังเป็นเลข 1-10 อยู่แต่จะเพิ่มจากการสอนแต่เลขเอโรบิก มาเป็นเลขไทย และตัวหนังสือเพิ่มเข้ามา  มีวิธีการสอนที่หลากหลายวิธีเพื่อที่ไม่ให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นน่าเบื่อ หาสื่อที่ดึงดูดตัวเด็กมาใช้ในการสอน จะทำให้เด็กเกิดความสนใจ โดยเฉพาะถ้าเด็กเกิดความสนใจแล้วได้สัมผัสในสิ่งที่ตนเองสนใจจะทำให้เด็กมีความจำที่ดี 
   ตัวอย่างการเรียนเรื่องเลข  เราเรียนเรื่องเลข 3 เราก็หาสื่อที่เกี่ยวกับเลข 3 มาให้เด็กดูมาให้สัมผัสว่าเลข 3 มีลักษณะอย่างไร มีจำนวนเท่าไร นอกจากนั้นยังมีการนำเอาคณิตศาสตร์มาบูรณาการให้เข้ากับการสอนศิลปะอีกด้วย เช่น การปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปตัวเลข นอกจากจะทำให้เด็กมีความรู้ มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญายังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
                   ประจำวันศุกร์ ที่ 23 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ 
- ทำให้ครูรู้จักเด็กในความดูแลมากขึ้น
- ตระหนักในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
- จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
*ขั้นตอนการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของเด็กเปรียบเทียบได้กับขั้นบันได*

พัฒนาการทางสติปัญญากับการทำงานของสมอง
สติปัญญา
1. ภาษา
2. การคิด
- การคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
- การคิดสร้างสรรค์
พัฒนาการทางสติปัญญา คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องทางด้านภาษาและการคิด
สมอง>เก็บข้อมูล >ประมวลผล> สั่งการ

พัฒนาการด้านสติปัญญาตามแนวคิด ของเพียเจต์ บรูเนอร์ และไวกอตซกี้



ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง การรับรู้เข้ามาแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
*การรับรู้ คือ การรับรู้เข้ามาแล้วยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม*
ประโยชน์ของการเรียนรู้
- เพื่อการอยู่รอด
- จะได้จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้

ทักษะ
ให้ตอบคำถามก่อนเรียน พร้อมระดมความคิด แสดงความคิดเห็น แล้วตอบคำถาม

วิธีสอน
ใช้ Power Point ประกอบในการบรรยาย มีคำถามให้ตอบก่อนเข้าสู่บทเรียน ขณะการบรรยายการสอนมีการถามเพื่อให้นักศึกษาตอบและแสดงความคิดเห็น

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนบรรยากาศเย็นสบายแต่เครื่องโปรเจกเตอร์มีปัญหานิดหน่อย

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนฟังและตอบคำถามอาจารย์แทบทุกครั้ง มีการจดบันทึกขณะเรียน

ประเมินเพื่อน
มีเพื่อนบางกลุ่มไม่ค่อยตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนเอาวิชาอื่นมาทำในวิชาที่อาจารย์กำลังสอนแต่เพื่อนส่วนใหญ่ก็ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลาเนื้อหาที่สอนอธิบายได้อย่างครอบคลุม ฝึกให้นักศึกษากล้าแสดงออกและคิดตามเป็น

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

                    บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
                ประจำวันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ
          สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 วิธีจัดประสบการณ์ ต้องไม่เคร่งเครียดพูดและลงมือปฏิบัติจริง
 วิธีที่ดีที่สุด คือลงมือปฏิบัติจริงโดยการลงมือทำเพื่อที่จะกระตุ้นสมองทำให้เกิดความคิดใหม่ และเรื่องที่จะเอามาสอนต้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันเพราะมันจะไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด

   การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กวัยซน
กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดตั้งแต่อยู่ในท้องเพราะคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับชีวิต

ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ การคิดเลข เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพทุกๆอาชีพ
 เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่ใช่เรียนเฉพาะจำนวนหรือตัวเลข แต่เด็กสามารถที่จะเรียนรู้โดยการสังเกต การเปรียบเทียบสิ่งของ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงใกล้ตัวเด็กเด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย

ทักษะ
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วสรุป ความหมายของคณิตศาสตร์  ความสำคัญ ทักษะ และประโยชน์ของคณิตศาสตร์ พร้อมออกมานำเสนอ




วิธีสอน
บรรยายพร้อมมีการถามตอบ มีใบงานแจกให้แต่ละกลุ่มระดมสมองสรุปแล้วให้ออกมานำเสนอ

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด ขาดเครื่องโปรเจคเตอร์ทำให้ไม่สะดวกเท่าที่ควรในการสอน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมีพูดคุยบ้างเล็กน้อยในเวลาเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนพูดคุยกันขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม


ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนช้า(อาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมวันครู) แต่เนื้อหาการสอนมีความละเอียด  อาจารย์ตั้งใจสอนดีมาก

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

http://www.e-child-edu.com/ส/content/articles/math-for-child.html     


               สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. อัญชลี   ไสยวรรณ

จาก  ศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วิธีจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องลงมือปฏิบัติจริงและบรรยากาศต้องไม่เคร่งเครียด วิธีที่ดีที่สุดคือการลงมือปฏิบัติจริงโดยการลงมือทำเพื่อที่จะกระตุ้นสมอง ทำให้เกิดความคิดใหม่ เรื่องที่จะเอามาสอนนั้นต้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันเพราะมันจะไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
                   ประจำวันศุกร์ ที่ 9 มกราคม 2558


ความรู้ที่ได้รับ

ได้แนวทางการเรียนของแต่ละด้านในรายวิชานี้
คุณลักษณะ
1. คุณธรรม จริยธรรม
2. ความรู้
3. ทักษะทางปัญญา
4. ความสัมพันธ์
5. การคำนวณการใช้ตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี
6. การจัดการเรียนรู้

 องค์ประกอบของบล็อก
1. ความรู้ที่ได้รับ
2. ทักษะ
3. วิธีสอน
4. ประเมินสภาพห้องเรียน ตนเอง เพื่อน และอาจารย์

ทบทวนเพื่อประเมินความรู้เดิมจากการตั้งหัวข้อ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะ
ทำ My mapping

วิธีสอน
  บรรยายโดยมีการใช้คำถาม เช่น นักศึกษาเคยมีพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมามากน้อยแค่ไหน
ให้นักศึกษาคิดแล้วทำเป็น My mapping  ออกมา

ประเมินสภาพห้องเรียน
  ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศเย็นสบาย แต่จะขาดเครื่องฉายวีดีทัศน์ มีโต๊ะมากกว่าจำนวนผู้เรียน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังไม่พูดคุยขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน มีพูดคุยบ้างเล็กน้อย ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ดีมาก

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มีความเป็นกันเอง แต่งกายมาสอนได้เหมาะสม อธิบายแนวทางการสอนได้อย่างชัดเจน


ภาพ My mapping ทบทวนความรู้เดิมการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย