วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                             บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
                  ประจำวันศุกร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้จักขั้นตอนวิธีการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำและได้คิดวิเคราะห์เอง
*การสอนแบบขั้นตอน คือ การสอนแบบสาธิต* 

                                       เพลง นับนิ้วมือ


        นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
        มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว
        นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
        นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

วันนี้พูดถึงการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ การบูรณาการ คือ การผสมผสานศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน
ส่วนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ความสำคัญ
1. ใช้ในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน
2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์
3. ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ
4. ตอบสนองความสามารถในหลายๆด้าน
5. สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน

**ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง **
  จะทำให้ตัวเด็กดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างลำบากเพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ใช้ในชีวิตจริงและใช้ในชีวิตประจำวันทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราต่างเป็นคณิตศาสตร์ทั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่มีอะไรที่ไม่เป็นคณิตศาสตร์

ทักษะ
อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดตรงตารางเวลามาเรียนตามที่กำหนดให้พร้อมวาดรูปนาฬิกาและเขียนเวลากำกับด้วยและระดมความคิดเกี่ยวกับสาระที่ควรรู้ สิ่งรอบตัวเด็กทำเป็นมายแม็ปปิ่ง



วิธีการสอน
สอนโดยให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติทำจริง บรรยายมีการใช้คำถามให้ได้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น มี Power point ประกอบการบรรยาย

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด กว้าง โต๊ะไม่ชำรุด มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน อากาศเย็น

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลามีน้ำใจช่วยอาจารย์ถือของตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่กายได้เหมาะสมสอนโดยอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดมีการยกตัวอย่างประกอบที่เข้าใจง่ายและปล่อยตรงเวลา

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                            บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
                ประจำวัน ศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558


ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีเทคนิคคือ นิทาน เพลง เกม  คำคล้องจอง ปริศนาคำทายและบทบาทสมมุติ 
   เทคนิคคำคล้องจองต้องสามารถแต่งเองได้และร้องเป็นเพลงได้ เช่น แต่งคำคล้องจองเกี่ยวกับเลข 2
ไข่ 2 ฟอง กอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา 2 อย่างหมดเลย

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณธรรมที่สอดแทรก คือ ความซื่อสัตย์และความสามัคคี

ทักษะ
ให้นักศึกษาหัดแต่งเพลงและคำคล้องจองเอง โดยมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา ให้ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม 10 อัน แล้วให้เอากระดาษมาต่อกันว่าสามารถนำกระดาษมาต่อกันได้กี่รูปทรงโดยแต่ละรูปทรงห้ามซ้ำกัน

ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม 10 อัน 




วิธีสอน
บรรยายมีการใช้คำถามก่อนเข้าสู่บทเรียน มี Power point ประกอบในการบรรยาย แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง พร้อมแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรม

        สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด



สรุปผล
คือ สวนรถไฟ 3 คน
เกาะ 10 คน
น้ำตก 3 คน

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดกว้างมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม มีโต๊ะเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน บรรยากาศเย็นดีไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถามทุกครั้งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลามีกิจกรรมที่ใช้ในการสอนที่สนุกเนื้อหาที่ละเอียดอาจารย์ปล่อยตรงเวลา

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
                 ประจำวันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ
   อาจารย์อธิบายประกอบ Power point เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยสาระทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 6 สาระ
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการ
และเมื่อเด็กจบปฐมวัยเด็กจะมีความคิดเชิงคณิตศาสตร์เช่นจำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลักการนับ มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงินและเวลา รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งและทิศทาง เป็นต้น

ทักษะ
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความตามที่ได้รับมอบหมาย เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษานำป้ายชื่อที่ทำมาติดบนกระดานในช่องที่มาเรียนโดยจะแยกช่องออกเป็น 3 ช่อง ช่องแรก สมาชิกทั้งหมด ช่อง 2 คนที่มาโรงเรียน ช่องที่ 3 คนที่ไม่มาโรงเรียน

วิธีสอน
   บรรยายโดยมี Power point ประกอบการบรรยาย มีการถามและตอบคำถามก่อนเข้าสู่บทเรียนพร้อมมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ขณะเรียน

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศดีเหมาะกับการเรียน จำนวนโต๊ะ เก้าอี้เพียงพอกับนักศึกษา

ประเมินตนเอง
มีความพร้อมก่อนเข้าเรียนดี และตั้งใจเรียนตอบคำถามทุกครั้งไม่พูดคุยขณะเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามและสนใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมความพร้อมก่อนมาสอน มีเนื้อหาการสอนที่ละเอียดและเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างประกอบการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจหลักการได้ดี